Last updated: 22 ก.ย. 2567 | 241 จำนวนผู้เข้าชม |
ทุเรียนได้รับความนิยมในฐานะผลไม้เศรษฐกิจจึงส่งผลให้การปลูกทุเรียนขยายตัวทั่วประเทศไทย รวมไปถึงพื้นที่นอกเขตชลประทาน บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสำรวจวิธีการจัดการทรัพยากรน้ำของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่นอกเขตชลประทานในจังหวัดจันทบุรี
2) เพื่อพัฒนาเทคนิคทางการเกษตรเพื่อความยั่งยืน ด้วยการเปรียบเทียบวิธีการจัดการทรัพยากรน้ำแบบต่างๆ ในพื้นที่นอกเขตชลประทานในจังหวัดจันทบุรี
3) ศึกษาปัจจัยด้านแหล่งน้ำที่มีอิทธิพลต่อการจัดการสวนทุเรียน โดยพิจารณาปัจจัยวิธีการจัดการทรัพยากรน้ำเป็นตัวแปรคั่นกลาง โดยใช้อำเภอท่าใหม่เป็นกรณีศึกษา ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ด้วยการวิจัยเชิงผสม (Mixed Method) ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Content Analysis) ร่วมกับการวิเคราะห์ทางสถิติโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน
ผลการวิจัยพบว่าปัจจุบันการจัดการแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูกทุเรียนมีหลายวิธี เช่น การสร้างฝายถาวร การกั้นน้ำธรรมชาติ การขุดสระเพื่อเก็บน้ำ การใช้น้ำดิบ และการใช้น้ำบาดาล ภายหลังการระดมความคิดเห็นผ่านผังภูมิก้างปลาเพื่อวิเคราะห์
ข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธี การใช้พลังงานจากแผงโซล่าเซลล์เพื่อสูบน้ำบาดาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ตัวควบคุมแบบไฮบริด คือในช่วงเวลากลางวันใช้ไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ร่วมกับไฟฟ้าจากรัฐบาล ส่วนในเวลากลางคืนใช้ไฟฟ้าจากรัฐบาล เป็นเทคนิคทางการเกษตรเพื่อความยั่งยืนที่ดีที่สุด ซึ่งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานเพื่อการจัดการแหล่งน้ำต่อปีได้ถึง 48 % ต่อปี โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับวรรณกรรมและข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าไคสแควร์ = 93.806, ค่าองศาอิสระ (df) = 76, p-value =0.081, GFI=0.916, CFI = 0.987, TLI = 0.983, RMR = 0.019, and RMSEA = 0.042 ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิเคราะห์ตัวแปรภายในโมเดลที่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ เมื่อพิจารณาอิทธิพลของโมเดลพบว่าตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ สามารถพยากรณ์การจัดการสวนทุเรียนได้ร้อยละ 20.3
นักวิจัย : สรวงอัยย์ อนันทวิจักษณ์ และ ชวินธร อัครทัตตะ
17 ต.ค. 2562
8 ต.ค. 2562
21 ต.ค. 2562