การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนไม่อบไอน้ำ ด้วยน้ำจุลินทรีย์มูลค้างคาว

Last updated: 18 มิ.ย. 2562  |  15188 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนไม่อบไอน้ำ ด้วยน้ำจุลินทรีย์มูลค้างคาว

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนไม่อบไอน้ำ ด้วยน้ำจุลินทรีย์มูลค้างคาว

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนไม่อบไอน้ำ ด้วยน้ำจุลินทรีย์มูลค้างคาว เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่ง่าย ให้ผลผลิตสูง โรงเรือนที่ใช้เพาะเห็ดฟาง เป็นโรงเรือนขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร ทำขึ้นจากโครงไม้ไผ่ หรือวัสดุอื่น ทำเป็นชั้น 3 ชั้น ความสูงระหว่างชั้นประมาณ 20 เซนติเมตร ชั้นบนสุดทำเป็นหลังคารูปจั่ว โรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดฟางจะต้องคลุมด้วยพลาสติกดำ

วัสดุที่ใช้เพาะสามารถใช้ได้หลายชนิด เช่น ทะลายปาล์ม เปลือกมันสำปะหลัง ก้อนเห็ดเก่า เป็นต้น วัสดุเพาะเห็ดฟางจะต้องนำมาหมักด้วยน้ำจุลินทรีย์มูลค้างคาว

น้ำจุลินทรีย์มูลค้างคาว มีคุณสมบัติเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด ป้องกัน ควบคุมและกำจัดเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเห็ดได้กว้างขวาง เช่น ราเขียวเหลือง ราเขียวสด ราดำ ราขาวนวล ราสีส้ม ราเม็ดผักกาด ช่วยเพิ่มผลผลิตเห็ดให้สูงมากขึ้น เก็บได้ยาวนาน และเห็ดมีคุณภาพสูง ใช้ได้กับเห็ดทุกชนิด

วิธีการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนไม่อบไอน้ำ มีดังนี้

  1. นำวัสดุเพาะ เช่น ทะลายปาล์ม แช่ในน้ำจุลินทรีย์มูลค้างคาวในบ่อนาน 2 วัน
  2. จากนั้นนำทะลายปาล์มที่แช่น้ำจุลินทรีย์แล้ว ขึ้นวางบนชั้นของโรงเรือนเพาะเห็ด หนาประมาณ 1 ฝ่ามือ
  3. โรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ก้อน ต่อ 1 ตารางเมตร แล้วปิดโรงเรือนด้วยพลาสติก
  4. รดน้ำจุลินทรีย์มูลค้างคาว ทิ้งไว้ 4 วัน แล้วจึงเปิดพลาสติกนาน 2 ชั่วโมง เพื่อตัดเส้นใย แล้วฉีดพ่นน้ำจุลินทรีย์มูลค้างคาว ปิดพลาสติกไว้เหมือนเดิม
  5. ตั้งแต่วันที่ 8 เห็ดฟางจะเริ่มออกดอก ให้เริ่มเก็บผลผลิตได้

     

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้